วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

สองโรงแรมราชบุรี คว้ารางวัลสุดยอดโรงแรมบูติกไทย 2016-2017

โครงการ “Thailand Boutique Awards Season 4 (2016-2017)” หรือ การประกวดสุดยอดโรงแรมบูติกไทย ครั้งที่ 4  บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ได้ร่วมกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สและมาสเตอร์การ์ดซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก และได้รับการสนับสนุนจากสื่อพันธมิตรสำคัญ ได้แก่ แทรเวล แชนแนล ไทยแลนด์ และทรูยู พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาจำนวน 13 ท่าน ร่วมทำการตัดสิน โดยได้พัฒนาหลักเกณฑ์การตัดสินให้เข้มข้น และสอดคล้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมไทยมากขึ้น การประกวดครั้งนี้ มีจำนวนโรงแรมบูติกขนาด 3-80 ห้อง เข้าร่วมประกวดกว่า 100 โรงแรมทั่วประเทศ ภายใต้คอนเซปต์หลัก  “Colours of Thai” เน้นสีสันที่หลากหลายของความเป็นไทย ทั้งในด้านการบริการ การนำวัตถุดิบไทยๆ มาประยุกต์ และการเชื่อมโยงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น


โรงแรมบูติก คืออะไร 
คำว่า boutique (n.) มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ร้านเล็กๆ หรือแผนกหนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ขายเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ (ค่อนข้าง) ทันสมัย โดยอเมริกาเป็นชาติแรกที่เอาคำนี้เป็นคุณศัพท์มาอธิบายลักษณะของโรงแรมขนาดเล็กที่ต่างจากโรงแรมเชน ดังนั้น นัยของโรงแรมประเภทบูติกโฮเต็ลน่าจะหมายถึง โรงแรมขนาดเล็กที่มีความทันสมัย หรือร่วมสมัย

บูติกโฮเต็ล (boutique hotel) : คือโรงแรมขนาดกะทัดรัดมักมีจำนวนไม่เกิน 100 ห้อง (บางบทความบอกว่าไม่เกิน 150-200 ห้อง) แต่ละห้องอาจมีขนาดไม่ใหญ่ เรียกว่าใช้พื้นที่แบบ “The best out of small spaces” เดิมโรงแรมประเภทนี้ ไม่เน้นตอบสนองความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของนักเดินทางแบบ business traveler หลายแห่งจึงไม่มีห้องประชุมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ แต่เมื่อแนวโน้มของนักธุรกิจที่นิยมเข้าพักในโรงแรมบูติกมากขึ้น โรงแรมเหล่านี้จึงให้ความสำคัญกับบริการและความสะดวกจุดนี้มากขึ้น

โรงแรมบูติกมักมีดีไซน์ที่แตกต่างและโดดเด่น หรืออาจมีธีมของการสร้างโรงแรมที่น่าสนใจ ขณะที่บางแห่งอาจดัดแปลงมาจากอาคารที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ขณะที่บริการเฉพาะบุคคล/กลุ่ม (customized service) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดขายของโรงแรมลักษณะนี้ เพราะขนาดโรงแรมที่เล็กกว่า พนักงานจึงสามารถใส่ใจกับรายละเอียดของลูกค้าแต่ละคน และมีความใกล้ชิดกับลูกค้าทุกคนได้มากกว่าโรงแรมขนาดใหญ่

ผลการตัดสิน
ดังกล่าว นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติเป็นประธานพิธีประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล พร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ 4.0 เพื่อโรงแรมบูติกและการท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างยั่งยืน”  และมอบรางวัลให้แก่ 34 สุดยอดโรงแรมบูติกไทย ที่มีคุณภาพโดดเด่นใน 3 ด้าน ได้แก่ 
  • ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ (Design) 
  • ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (Green) 
  • ด้านแนวคิดและวัฒนธรรม (Thematic) 
โดยแบ่งระดับรางวัลเป็น 3 ขนาด คือ 
  • S Collection (โรงแรมขนาด 3-20 ห้อง) 
  • M Collection (โรงแรมขนาด 21-50 ห้อง) 
  • L Collection (โรงแรมขนาด 51-80 ห้อง) 
แบ่งเขตการประกวดตามที่ตั้งเป็น 4 เขต คือ
  • ทะเล(Sea)
  • ภูเขา(Mountain)
  • แม่น้ำ(River) 
  • เมือง (City) 
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษ (Special Awards) สำหรับองค์กรต้นแบบและบุคคลทำคุณประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรมบูติกไทย

รายนามโรงแรมที่ได้รับรางวัล
เขตทะเล (Sea)
ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 
  • S Collection ได้แก่ วิลล่า มาร็อก รีสอร์ท (ประจวบคีรีขันธ์) 
  • M Collection ได้แก่ ภารีสา (ภูเก็ต) 
  • L Collection ได้แก่ ศาลา ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์ สปา (ภูเก็ต) 
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 
  • M Collection ได้แก่ เดอะมนต์ตรา พัทยา (ชลบุรี) และ ปารดี (เกาะเสม็ด ระยอง)
ด้านแนวคิดและวัฒนธรรม 
  • M Collection ได้แก่ โรงแรมเดอะ ไลบารี่ (สมุย สุราษฎร์ธานี) 
  • L Collection ได้แก่ อลีนตา ภูเก็ต-พังงา รีสอร์ท แอนด์ สปา (พังงา)
เขตภูเขา (Mountain) 
ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 
  • S Collection ได้แก่ มิราเซียรา เขาใหญ่ (นครราชสีมา) 
  • M Collection ได้แก่ วิลล่า วิลล่า พัทยา (ชลบุรี) และวิลล่า โซลิธูท รีสอร์ท แอนด์ สปา (ภูเก็ต)
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 
  • S Collection ได้แก่ แรบบิซ ฮิลล์ รีสอร์ท (จันทบุรี) 
ด้านแนวคิดและวัฒนธรรม
  • S Collection ได้แก่ หน้าผา เขาใหญ่ รีสอร์ท (นครราชสีมา) 
  • M Collection ได้แก่ ม้งฮิลล์ไทรบ์ลอดจด์ (เชียงใหม่) 
  • L Collection ได้แก่ โฟโต้ โฮเทล (ภูเก็ต)
เขตแม่น้ำ (River)
ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
  • S Collection ได้แก่ ศาลา รัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) 
  • M Collection ได้แก่ เดอะ โฟลทเฮ้าส์ ริเวอร์แคว (กาญจนบุรี) และศาลา อยุธยา (อยุธยา) 
  • L Collection ได้แก่ โรงแรมบราวน์เฮ้าส์ (อุดรธานี) 
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
  • S Collection ได้แก่ วิลล่า โมรีดา (ราชบุรี) (ดูรายละเอียด) และแพ 500 ไร่ (เขาสก สุราษฎร์ธานี) 
  • M Collection ได้แก่ อสิตา อีโค รีสอร์ท อัมพวา (สมุทรสงคราม)
ด้านแนวคิดและวัฒนธรรม 
  • S Collection ได้แก่ เดอะ ซีนเนอรี่ วินเทจ ฟาร์ม (สวนผึ้ง ราชบุรี) (ดูรายละเอียด)
  • M Collection ได้แก่ มารดาดี เฮอริเทจ ริเวอร์ วิลเลจ (เชียงใหม่) 
  • L Collection ได้แก่ ริเวอร์แคว จังเกิลราฟท์ (กาญจบุรี)
เขตเมือง (City) 
ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 
  • S Collection ได้แก่ อ็อกโซเทล (เชียงใหม่) และ ปิงนครา บูติคโฮเทลแอนด์สปา (เชียงใหม่) 
  • M Collection ได้แก่ โรงแรมอคีรา แมเนอร์ สวีท เชียงใหม่ (เชียงใหม่) และ โรงแรมลิตเติ้ลยอนย่า (ภูเก็ต) 
  • L Collection ได้แก่ โรงแรมบลูมังกี้ ฮับ แอนด์ โฮเทล (ภูเก็ต) 
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 
  • M Collection ได้แก่ 137 พิลล่าร์ เฮ้าส์ (เชียงใหม่) 
ด้านแนวคิดและวัฒนธรรม 
  • S Collection ได้แก่ โฮเทล เดส อาร์ติส ปิง ซิลลูเอท (เชียงใหม่)
  • M Collection ได้แก่ โรงแรมอัมพวาน่านอน (สมุทรสงคราม) เดอะ เมโมรี่ แอท ออน ออน โฮเต็ล (ภูเก็ต) และโรงแรมอ้นหยา ภูเก็ต (ภูเก็ต)
2 รางวัลพิเศษ
องค์กรต้นแบบโรงแรมบูติกและบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมบูติกไทย คือ

  • People Award ได้แก่ คณะทำงานจาก ดิ แอทติจูด คลับ  
  • Special Thanks Award ได้แก่ นายสถาพร สิริสิงห ผู้ที่ให้การสนับสนุนโครงการ Thailand Boutique Awards ตั้งแต่ริเริ่มโครงการจนเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

โครงการประกวด “Thailand Boutique Awards Season 4 (2016-2017)” ในครั้งนี้ ผู้จัดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมบูติกไทย ได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยพัฒนาการบริหารธุรกิจโรงแรมบูติกให้เติบโตอย่างยั่งยืน และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการโรงแรมบูติกสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว รวมถึงการบริการที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความงดงามในความเป็นไทย และมีศักยภาพพร้อมแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและในเวทีโลกต่อไป

*********************************
ที่มาข้อมูล
  • POSITIONING. (2004).Boutique Variety & Definitio. [Online]. Available :http://positioningmag.com/6622. [2560 มีนาคม 9].
  • MGR Online. (2560). เคทีซีหนุนท่องเที่ยวยั่งยืน ประกาศผลสุดยอดโรงแรมบูติกไทย ครั้งที่ 4 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Colours of Thai”. [Online]. Available : http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000018684. [2560 มีนาคม 9].
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี ปี 2556 – 2559

วิสัยทัศน์  “ราชบุรีเมืองแห่งศิลปะร่วมสมัย วิถีธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลอง”

พันธกิจ
  1. พัฒนาและยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว มาตรฐานสินค้าและการบริการ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานระดับสากล
  2. ส่งเสริมการตลาดแนวใหม่ สร้างภาพลักษณ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และแหล่งท่องเที่ยว ได้มาตรฐานระดับสากล
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพสินค้า ศักยภาพบุคลากร มาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวและความปลอดภัย
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ให้การท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่องสมดุลและยั่งยืน
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์ พัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว การตลาดและการประชาสัมพันธ์ 

เป้าประสงค์/กลยุทธ์


ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และแหล่งท่องเที่ยวได้มาตรฐานระดับสากล

เป้าประสงค์
  • โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ได้รับการปรับปรุงพัฒนาสู่มาตรฐานระดับสากล
  • แหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรม และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาโดยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
  • บูรณะฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม เพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจในแหล่งท่องเที่ยว
  • สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีเอกลักษณ์ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างสมดุล และยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพสินค้า ศักยภาพบุคลากร มาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยว และความปลอดภัย

เป้าประสงค์
  • ผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้าด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาคุณภาพ สร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
  • บุคลากรผู้ผลิตผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ และบุคลากรภาคบริการด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาศักยภาพ สร้างภาพลักษณ์ และแรงดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น 
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  • พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าจากความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยว
  • พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาคการผลิตและภาคบริการด้านการท่องเที่ยว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ให้การท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่องสมดุลและยั่งยืน

เป้าประสงค์
  • เครือข่ายการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีประสิทธิภาพ สนับสนุน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม
  • กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับ การส่งเสริมและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสมดุล
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  • ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ
  • ส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสมดุลและยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์ พัฒนารูปแบบกิจกรรมการ ท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาด และการประชาสัมพันธ์

เป้าประสงค์
  • ภาพลักษณ์และรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดได้รับการพัฒนา ให้มีแรงดึงดูดความสนใจ และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการตลาดได้รับการพัฒนาเผยแพร่สู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  • สร้างภาพลักษณ์ และกิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพิ่มแรงดึงดูดความสนใจ และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว
  • เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการตลาดแนวใหม่

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี ไปสู่การปฏิบัติ

การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีไปสู่การปฏิบัติ มีความจำเป็นในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน จึงต้องมีการสร้างและพัฒนากลไกการจัดการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมตามกรอบและแนวทาง ดังนี้


1. เสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา
  • ส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • ส่วนราชการระดับท้องถิ่น
  • องค์กรเอกชน / ผู้ประกอบการ
  • ภาคสถาบันการศึกษา / หน่วยงานวิจัยและพัฒนา
  • ภาคประชาชน
2. ใช้กลไกคณะกรรมการระดับต่าง ๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างบูรณาการ
  • กลไกการจัดทำแผน 4 ปี / การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
  • กระบวนการนำแผนชุมชนมาเป็นข้อมูลจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
  • สนับสนุนให้ตัวแทนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระดับ
3. ผลักดันการดำเนินการตามแผนและนโยบายระดับชาติ กระทรวง กลุ่มจังหวัดและจังหวัด
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • นโยบายของรัฐบาล
  • แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
  • แผนยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 1
  • แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี
4. พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล ตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนา
  • แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  • สนับสนุนกลไกการติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  • มีการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและสถานการณ์

***********************************************
(ดาวน์โหลดข้อมูล)

ที่มาข้อมูล : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี. (2556). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี ปี 2556-2559. [Online]. Available : http://ratchaburi.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539568264 [2556.กันยายน12].
อ่านต่อ >>