ภาพคนในชุมชนบ้านขนุน ที่มา : http://gotoknow.org/blog/suthepkm/344521 |
ชุมชนบ้านขนุน 27 หมู่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 7012
ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน
ข้อมูลทั่วไป
เดิมเป็นที่พักอาศัยของครอบครัวนายใหม่ นางตา ตุ่นบุตรเสลา โดยปลูกสร้างเป็นโรงหลังคามุงจาก ได้รับการปรับปรุงเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 จนกระทั่งปรับปรุงครั้งสุดท้ายปี พ.ศ.2544 เมื่อนายใหม่และนางตาเสียชีวิต นายเสถียร ตุ่นบุตรเสลา บุตรคนสุดท้องและครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแลบิดา มารดา ได้ไปปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ หลังเก่าคงสภาพเดิมไว้ นายเสถียรและภรรยา มีแนวความคิดที่จะสะสมรวบรวม เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำรงชีพซึ่งแสดงวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ถึงเรื่องราววิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร สะสมเรื่อยมาโดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวบ้าง และมีผู้บริจาคบ้าง ต่อมาสภาวัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้เล็งเห็นความมุ่งมั่นของนายเสถียร และด้วยภารกิจของสภาฯ คือ การฟื้นฟู ส่งเสริม อนุรักษ์ พัฒนาและสงวนรักษาฯ เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งชุมชนบ้านขนุนมีประวัติเป็นชุมชนลาวเวียงเดิม ประกอบกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ได้มีโครงการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ตามโครงการจัดการภูมทัศน์วัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งจัดเป็นพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง
วัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้ศึกษารายละเอียด หลักเกณฑ์ของการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนแล้วเห็นพ้องต้องกัน จึงจัดทำโครงการนำเสนอสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อพิจารณา 3 โครงการ และ 1 ในจำนวนนั้น คือการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนลาวเวียง ด้วยเหตุที่ชุมชนบ้านขนุนเป็นชุมชนขนาดกลางและยังไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก รวมทั้งเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน ชุมชนจึงได้รับการตัดสินเป็นพื้นที่นำร่อง
นอกจากนี้นายเสถียร นางศรีนวล ตุ่นบุตรเสลา ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่และอาคารบ้านเรือนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เห็นคุณค่า และสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ชุมชนบ้านขนุนอย่างยั่งยืนตลอดไป
ข้อมูลการบริการ
เวลาทำการ ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม
อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 64-66)
นอกจากนี้นายเสถียร นางศรีนวล ตุ่นบุตรเสลา ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่และอาคารบ้านเรือนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เห็นคุณค่า และสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ชุมชนบ้านขนุนอย่างยั่งยืนตลอดไป
ข้อมูลการบริการ
เวลาทำการ ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม
อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 64-66)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น