วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์บ้านเรา

พิพิธภัณฑ์บ้านเรา
สถานที่ตั้ง
สุขโชครีสอร์ท อ.ดำเนินสะดวก ต.ท่านัด จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์บ้านเรา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในสุขโชค รีสอร์ท จัดตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ.2530-2531 จัดแสดงของที่คุณเฉลียว  สุขโชค สะสมไว้ โดยรวบรวมของเก่าที่ชาวบ้านไม่ใช้แล้ว เช่น นาฬิกาแบบต่างๆ รถจักรยาน รถสามล้อ เกวียน ตะเกียง เป็นต้น เพื่อให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมและศึกษา

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้เข้าชมทุกวัน

ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม

การติดต่อ
โทร.0-3225-4301,0-3225-4982

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 71-72)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์

พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์
สถานที่ตั้ง
วัดประสาทสิทธิ์  ต.ประสาทสิทธิ์  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์ เป็นสถานที่จัดเก็บวัตถุโบราณหลายชนิดของวัดประสาทสิทธิ์  ได้แก่ พระพุทธรูป เงินตรา เครื่องถ้วยชาม เครื่องทองเหลือง เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแบบต่างๆ จัดแสดงแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ไว้ในตู้จัดแสดง และมีบ่อน้ำพระพุทธมนต์อยู่ตรงกลางห้อง

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้เข้าชมทุกวันพระและวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08:00-18:00 น.

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา :
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 69-70)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม

พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม
สถานที่ตั้ง
วัดโชติทายการาม เลขที่ 3 หมู่ 1 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุในสมับหลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเชย ท่านได้ดูแลรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2507 โดยเริ่มจากเมื่อ พ.ศ.2530 หลวงพ่อกิมไซร ได้ปรารภกับศิษยานุศิษย์ และกรรมการวัดเกี่ยวกับเรื่องการจัดสร้างสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ในสมัยหลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเชย ซึ่งท่านได้ดูแลรักษาไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.2507 กับทั้งสิ่งของญษติโยมที่นำมาถวายให้กับวัด เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและไว้เป็นเกียรติแก่วัดด้วย

ท่านได้บริจาคเงินเป็นทุนก่อสร้างอาคาร จำนวน 1,000,000 บาท ในเบื้องต้น คณะกรรมการตกลงทำตามดำริ โดยเริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ "สุนทรธรรมรัตน์" ในปี พ.ศ.2542 และก่อนอาคารเสร็จสมบูรณ์ หลวงพ่อถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 คณะกรรมการจึงเร่งให้ช่างดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันงานพระราชทานเพลิง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2543 สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 5,000,000 บาทเศษ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ  อาคารพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของวัดโชติฯ เป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านล่างเป็นอู่เรือของวัด

ข้อมูลบริการ
ติดต่อทางวัดล่วงหน้าก่อนเข้าชม

การติดต่อ
โทร.08-1011-8835 พระมหาประกอบ โชติปุญโญ เจ้าอาวาส

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 67-68)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาวเวียง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาวเวียง
ภาพคนในชุมชนบ้านขนุน
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/suthepkm/344521
สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านขนุน  27 หมู่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 7012

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน

ข้อมูลทั่วไป
เดิมเป็นที่พักอาศัยของครอบครัวนายใหม่ นางตา  ตุ่นบุตรเสลา โดยปลูกสร้างเป็นโรงหลังคามุงจาก ได้รับการปรับปรุงเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 จนกระทั่งปรับปรุงครั้งสุดท้ายปี พ.ศ.2544 เมื่อนายใหม่และนางตาเสียชีวิต นายเสถียร ตุ่นบุตรเสลา บุตรคนสุดท้องและครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแลบิดา มารดา ได้ไปปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ หลังเก่าคงสภาพเดิมไว้ นายเสถียรและภรรยา มีแนวความคิดที่จะสะสมรวบรวม เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำรงชีพซึ่งแสดงวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ถึงเรื่องราววิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร สะสมเรื่อยมาโดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวบ้าง และมีผู้บริจาคบ้าง ต่อมาสภาวัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้เล็งเห็นความมุ่งมั่นของนายเสถียร และด้วยภารกิจของสภาฯ คือ การฟื้นฟู ส่งเสริม อนุรักษ์ พัฒนาและสงวนรักษาฯ เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งชุมชนบ้านขนุนมีประวัติเป็นชุมชนลาวเวียงเดิม ประกอบกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี  ได้มีโครงการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ตามโครงการจัดการภูมทัศน์วัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งจัดเป็นพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง

วัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้ศึกษารายละเอียด หลักเกณฑ์ของการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนแล้วเห็นพ้องต้องกัน จึงจัดทำโครงการนำเสนอสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อพิจารณา 3 โครงการ และ 1 ในจำนวนนั้น คือการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนลาวเวียง ด้วยเหตุที่ชุมชนบ้านขนุนเป็นชุมชนขนาดกลางและยังไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก รวมทั้งเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน ชุมชนจึงได้รับการตัดสินเป็นพื้นที่นำร่อง

นอกจากนี้นายเสถียร นางศรีนวล ตุ่นบุตรเสลา  ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่และอาคารบ้านเรือนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เห็นคุณค่า และสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ชุมชนบ้านขนุนอย่างยั่งยืนตลอดไป

ข้อมูลการบริการ
เวลาทำการ ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 64-66)
อ่านต่อ >>

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าตีนจกราชบุรี

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าตีนจกราชบุรี
สถานที่ตั้ง
วัดแคทราย  หมู่ 13 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
ด้วยความตระหนักในคุณค่าและความต้องการในการที่จะอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าจกของชาวไท-ยวน ให้คงอยู่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไท-ยวน ในราชบุรีสืบไป สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดแคทราย นำโดย นายอุดม  สมพร ผู้ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวไท-ยวนที่อพยพโยกย้ายจากเมืองเชียงแสน  จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกขึ้นที่ วัดแคทราย หมู่ที่ 13 ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และองค์การกุศลต่างๆ ทั้งในจังหวัดราชบุรี และจังหวัดอื่นๆ เพื่อให้เป็นศูนย์วิชาการผ้าจก สำหรับการศึกษาค้นคว้าแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป  โดยได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ ฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2534 อันเป็นคราวเดียวกันกับที่เสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรีนั้น ภายในศูนย์ได้จำแนกพื้นที่ใช้สอยเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยส่วนแรกเป็นส่วนจัดแสดง และเก็บรักษาผ้าจกที่จัดแสดงและเก็บรักษาอยู่ภายในตู้จัดแสดง ตามหลักวิชาการจัดแสดงผ้าของพิพืธภัณฑสถาน ซึ่งมีตัวอย่างผ้า ทั้งผ้าจกโบราณและผ้าจกที่ทอขึ้นใหม่ ตามแบบโบราณ จัดแสดงให้ผู้ที่สนใจศึกษากว่าร้อยผืน  ในขณะที่ส่วนที่สอง เป็นส่วนสาธิตและฝึกหีดการทอผ้าจก อันจะมีสตรีไท-ยวนคอยสาธิตการทอผ้าให้ชมและศึกษาตลอดเวลาที่ศูนย์เปิดให้บริการ  และในส่วนนี้ยังมีกี่ทอผ้าจก ที่พุ่งกระสวยด้วยมือใหญ่ที่สุดในโลก จัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย

ข้อมูลบริการ
เวลาเปิดทำการ เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาและสนับสนุนศิลปผ้าจกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00-17:00 น.

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 50-51)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ไท-ยวน

พิพิธภัณฑ์ไท-ยวน
สถานที่ตั้ง
วัดนาหนอง หมู่ 2 ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
เริ่มต้นจากพื้นที่ในเขตหมู่ที่หนึ่ง ต.ดอนแร่ เป็นเขตที่มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวัดจึงได้ร่วมมือกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้น  โดยส่วนของอาคารได้สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ.2541  พร้อมกันนั้นจึงได้เกิด ศูนย์บูรณาการสายใยวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มทอผ้าฝน ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านนั้น ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 แล้ว โดยดำเนินการในส่วนพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งวัตถุสะสมส่วนใหญ่มาจากของสะสมของวัด  มีการจัดแสดงโดยนำโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่นของชาวไท-ยวน มาจัดแสดง โดยใช้พื้นที่ชั้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงในตู้โชว์ วัตถุจัดแสดงประกอบด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม เครื่องปั้นดินเผา คัมภีร์ เอกสารโบราณ ภาชนะ เครื่องแก้ว อาวุธ สำริด รวมทั้งงานหัตถกรรมอื่นๆ เช่น การปักผ้าอย่างชาวยวน การทำหมอนขวาน  ซึ่งพระครูสิริคณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาหนอง เป็นผู้ควบคุมดูแลและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลดอนแร่  ด้านการให้บริการต่อผู้เข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์ นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นศูนย์ค้นคว้าข้อมูล และเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้านอีกด้วย

ข้อมูลบริการ
เวลาเปิดทำการ ต้องโทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันทำการ

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมค่าเข้าชม

การติดต่อ
โทรศัพท์ 0-3220-7256 ท่านเจ้าอาวาสวัดนาหนอง 08-1705-0331
โทรสาร.0-3220-7222

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา :
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 48-49)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่สำยักสงฆ์บ้านบ่อหวี หมู่ 4 บ้านบ่อหวี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70140

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ วัตถุโบราณต่างๆ ที่พบในเขตอำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่ ณ ศาลาอเนกประสงค์ภายในสำนักสงฆ์บ่อหวี โดยมี พระสุชิน  ฐิตะมฺโม เป็นผู้ดูแลและคิดริเริ่มจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจ 

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้บริการทุกวัน (ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม)

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 30-31)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์
สถานที่ตั้ง
215/3  ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน


ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่เรือนไม้สัก 2 ชั้น ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม (Colonial Architecture) ซึ่งสร้างอยู่ราวปลายรัชกาลที่ 5 - ต้นรัชกาลที่ 6 ในอดีตเป็นสถานที่ทำงานของเทพการอุตสาหกรรม มีกเรียกันติดปากว่า "ออฟฟิตสังคหะวังตาล" โดยใช้เป็นสำนักงานใหญ่เป็นที่ติดต่องานและรวบรวมข้อมูลธุรกิจต่างๆ ในกิจการของคุณหลวง (เสวกโทหลวงสิทธิ์ เทพการ) เป็นสถานที่เก็บเอกสารระบบงานธุรกิจการค้าของหลวงสิทธิ์เทพการ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร โรงน้ำแข็ง โรงเลื่อย ฯลฯ และได้ใช้เป็นสำนักงานสังคหะวังตาลตลอดเรื่อยมา จวบจนกระทั่งกิจการต่างๆ ได้ปิดตัวลงไปตามกาลเวลา

ปัจจุบัน ทายาทของหลวงสิทธิ์เทพการได้ซ่อมแซมปรับปรุงเรือนไม้สักแห่งนี้ ให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้จัดแสดงเอกสารข้อมูลธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่เดิมภายในสำนักงานรวมทั้งข้างของเครื่องใช้ในอดีต บ้านหลังนี้เรียกชื่อว่า "บ้านคุณหลวง" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่หลวงสิทธิ์เทพการ

ข้อมูลบริการ
เวลาทำงาน เปิดให้บริการทุกวัน

ค่าธรรมเนนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวรวิทย์  วังตาล โทร.0-3221-1018

อ่านเพิ่มติม
ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 30-31)
อ่านต่อ >>