วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทศกาลศิลปะและการแสดงเจ็ดเสมียน (Chet Samian Arts Festival)-บ้านฉัน ฉันเล่าเอง

เทศกาลศิลปะและการแสดง เจ็ดเสมียน (Chet Samian Arts Festival)
วัฒนธรรม ความรู้ ร่วมสมัย เรื่องเล่า คนละคร ศิลป์สร้างชีพในชุมชน แกลเลอรี่ โบราณ งานหนัง เต้นระบำ รำฟ้อนดนตรี เสวนา งานประเพณีนิยม

ทุกเสาร์ – อาทิตย์ (เริ่ม 27 พฤศจิกายน 2553- 9 มกราคม 2554 ) ตั้งแต่ 15:00 น.เป็นต้นไป

ความเป็นมา
ภาพจากแผ่นพับประชาสัมพันธ์
“...ด้วยความคิดที่ว่า ศิลปะเป็นเรื่องใกล้ตัว All About Arts  (สืบสานงานศิลป์ ภูมิปัญญาคนของแผ่นดิน) จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550 จากความสำเร็จกว่า 2 ปี 9 เดือน บัดนี้ด้วยความเข้มแข็งและความมุ่งมั่นของชุมชนในเชิงศิลปวัฒนธรรม น้ำใจ และการรวมตัวของบรรดาศิลปินหลากหลายแขนง หลากหลายพื้นที่ ประชาชนโดยรอบ และจังหวัดทั้งใกล้และไกล รังสรรค์งานศิลปะในชุมชนให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ในงานเทศกาลศิลปะและการแสดงเจ็ดเสมียน เริ่ม 27 – 11 - 53”
... มานพ มีจำรัส...


เป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่ง ที่ชุมชนเจ็ดเสมียน ได้เติบโตขึ้นในฐานะชุมชนที่มีศักยภาพโดดเด่น โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมกับวิถีชุมชน ดังที่ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่องตามสื่อต่างๆทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล จากเหตุผลข้างต้นประกอบกับความเข้มแข็งของชุมชน ศักยภาพในเชิงความคิด และแนวทางการปฏิบัติ ทั้งแง่ของการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์งานศิลปะทุกแขนง สวนศิลป์ บ้านดิน โดยคุณมานพ มีจำรัส ตลอดจนชาวบ้าน ผู้ประกอบการ และภาคีต่างๆ จึงมีความเห็นตรงกัน ที่พร้อมจะยกระดับการสร้างาน All About Arts (สืบสานงานศิลป์ ภูมิปัญญาคนของแผ่นดิน) สู่งาน “Chet Samian Arts Festival 2010 (เทศกาลศิลปะและการแสดงเจ็ดเสมียน)”

โดยคณะกรรมการชุมชน ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงในรูปแบบต่างๆ ผ่านศิลปินรุ่นเยาว์ ศิลปินท้องถิ่น และศิลปินจากพื้นที่อื่น ให้กระจายอยู่ในชุมชนเจ็ดเสมียน และชุมชนข้างเคียงในจังหวัดราชบุรี ทั้งรูปแบบการแสดงและดนตรีในเชิงอนุรักษ์ แบบพื้นถิ่น การแสดงวิถีชุมชน ตลอดจนการแสดงและดนตรีร่วมสมัย เพื่อหวังที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกแห่งในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง อันจะนำมาซึ่งการขับเคลื่อนและกระตุ้นทางเศรษฐกิจ ตามแนวทางชุมชนเข้มแข็ง ในนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล

สถานที่หลักในการจัดงานเทศกาล (ดูแผนที่)
  1. ลานกิจกรรม บริเวณศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จ.ราชบุรี
  2. ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง บริเวณตลาดเก่า 119 ปีเจ็ดเสมียน ริมแม่น้ำแม่กลอง
  3. เนินกลางสวน บริเวณสวนศิลป์ บ้านดิน
กิจกรรม

วันเสาร์ที่ 27 พ.ย.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงขิมเจ็ดเสมียน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. การแสดงของศิลปินท้องถิ่น นำทีมโดย พูลสุทัศน์  เมฆสุวรรณ ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงร่วมสมัย "ครู" (โดย มานะ มีจำรัส ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ.2548)  และ "บูชา" (โดย พุทธิลักษณ์  ทรงขลิบและศรีปานสรวง ตั้งสุวรรณจินดา) ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงขิมเจ็ดเสมียน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. การแสดง "เต้นรำทำตาล" "ลานโบน" โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงเดี่ยว โดย กั๊ก  วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันเสาร์ที่ 4 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเด็กบ้านดิน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
16:30 น. อบรมและเสวนา เรื่อง "ทำกับข้าวกับยาย" โดย คุณอุ้ม สิริยากร พุกกะเวท ณ สวนศิลป์ บ้านดิน
17:30 น. การแสดง "รำเพลงเกี่ยวข้าว" โดยศิลปินจากจังหวัดเพชรบุรี ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงละครชาตรีเรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต "รอวันเธอกลับมา ละครชาตรีที่รัก" โดย กลุ่มลูกระนาด จ.เพชรบุรี (อานนท์ บัวคำ) ต่อด้วย นาฎศิลป์ไทยร่วมสมัย "นาคะสุวรรณภูมิ" โดย เพชรจรัสแสง (พจนา  เพชรทอง) ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันอาทิตย์ที่ 5 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเด็กบ้านดิน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. การแสดง "สินเจริญบราเธอร์" ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดง "ดนตรีไทยเทิดพระเกียรติบุรพกษัตริย์ไทย" โดยวงคำหวาน ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้ฯ 

วันเสาร์ที่ 11 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเยาวชน ร.ร.วัดสนามชัย ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
16:30 น. อบรมและเสวนา เรื่อง "คุณค่าแห่งผ้าจก คุณค่าแห่งภูมิปัญญาของแผ่นดิน" โดย ดร.อุดม  สมพร ณ สวนศิลป์ บ้านดิน
17:30 น. การแสดงดนตรี "โลกรอดเพราะกตัญญู" โดย คุณดินป่า  จีวัน ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงบัลเล่ต์ "Serenade" (สิริธร ศรีชลาคม) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อด้วย Indian Contemporary Dance โดย สุวีนาถ แสตนท์ และพิทักษ์  เกตุแก้ว ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้ฯ 

วันอาทิตย์ที่ 12 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเยาวชน ร.ร.วัดสนามชัย ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงทอล์คโชว์  "Happy is all around" โดยคุณเพชรยุพา  บูรณ์สิริจรุงรัฐ ต่อด้วย การแสดงร่วมสมัย "ไตร" โดยคุณธรรมทัศน์  แก้วพระเกียรติ ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันเสาร์ที่ 18 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเยาวชนจังหวัดราชบุรี ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
16:30 น. อบรมและเสวนา เรื่อง "หุงข้าวอย่างไรให้มีความสุข" โดย คุณพล  ตัณฑเสถียร ณ สวนศิลป์ บ้านดิน
17:30 น. การแสดงของครูอาทิตย์  วงศ์สว่าง ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การเต้นรำร่วมสมัย เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย โดย ภัทราวรินทร์  ทิมกุล ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง
19:00 น. การแสดง Sapook  ปีศาจโสภา เดอะมิวสิค โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้ฯ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงเยาวชนจังหวัดราชบุรี ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
19:00 น. ศิลปการแสดงและดนตรีล้านนา โดย ครูอาทิตย์ วงศ์สว่าง ต่อด้วย ละครหุ่นและดนตรีล้านนา "สุวรรณหอยสังข์" โดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ เนินกลางสวน สวนศิลป์ บ้านดิน

วันเสาร์ที่ 25 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงครูชดช้อย ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
16:30 น. อบรมและเสวนา เรื่อง "ศาสนากับบทบาทของผู้หญิงในวรรณคดี" โดย แม่ชีศันสนีย์  เสถียรสุต  ณ สวนศิลป์ บ้านดิน
17:30 น. การแสดงดนตรีพูดได้ โดย ยุ้ย เสาวคล  ม่วงคราญและเพื่อน ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การละครฟ้อนร่วมสมัย "รามเกียรติ ฉบับล้านนา ตอนพระรามตามกวาง" โดย กฤษฎิ์ ชัยศิลปบุญ ต่อด้วยการแสดงร่วมสมัย "Exit" และ "Mirror" โดย ศิริลักษณ์ ทรงขลิป, พุทธิลักษณ์  ทรงขลิบ และศรีปานสรวง  ตั้งสุวรรณจินดา ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันอาทิตย์ที่ 26 ธ.ค.2553
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงครูชดช้อย ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. การแสดงโปงลาง มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงร่วมสมัย "มักกลีผล" โดย ศรินประภา ภัทรจินดา, อมตา  ปิยวาณิชย์, กิตติพร อุดมรัตนกูลชัย และวิทุรา อัมระนันทน์ ต่อด้วย การแสดงไหวพริบ "So you think U can Act?...คุณทำได้" โดย กิตติพร อุดมรัตนกูลชัย และอมตา ปิยะวานิชย์ ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันเสาร์ที่ 1 ม.ค.2554
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงขิมเจ็ดเสมียน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
19:00 น. "บ้านฉัน ฉันเล่าเอง" เล่าเรื่องโดย มานพ  มีจำรัส และศิลปินรุ่นเยาว์เจ็ดเสมียน ณ ลานอิสระ ริมน้ำแม่กลอง

วันอาทิตย์ที่ 2 ม.ค.2554
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงขิมเจ็ดเสมียน ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดงบทเพลงจากล้านนา คัมมินส์ และเพื่อน ต่อด้วย คีตนาฎกรรมล้านนา สร้างสรรค์โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ เนินกลางสวน สวนศิลป์ บ้านดิน

วันเสาร์ที่ 8 ม.ค.2554
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงดีดสีตีเป่า ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. การแสดงเล่นไปเล่าไป "ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ" สร้างสรรค์โดย รัชวิช มุสิการุณ ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดง "เสียงร้องจากนางในวรรณคดี" โดย ใบหม่อน ศิโยน ดาวรัตนหงส์ ต่อด้วย นาฎศิลป์ร่วมสมัย "เทคโนโลกีย์" โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้ฯ

วันอาทิตย์ที่ 9 ม.ค.2554
14:00 น. ชมภาพยนตร์ ณ วิกครูทวี
15:00 น. บ้านไม้ทดลองดู "ร้อยเรื่องราวผ่านเลนส์"
16:30 น. การแสดงวงครูชดช้อย ณ สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน
17:30 น. เรื่องเล่าจากคุณยายละอองและครูเด๋อ  ณ ลานโพธิ์ 100 ปี ตลาดเจ็ดเสมียน
19:00 น. การแสดง MSM "Mind . Self . Music" กายกรรมโดย ราชนิกร  แก้วดี ต่อด้วย มหรสพทางวิญญาณ "โนราห์" ส่งผ่านโดย ครูธรรมนิตย์  นิคมรัตน์ ณ เนินกลางสวน สวนศิลป์ บ้านดิน
xx : xx น. ร่วมสุนกรำวงย้อนยุค ปิดเทศกาล

ข้อมูลเพิ่มเติม
งานเทศกาลศิลปะและการแสดง เจ็ดเสมียน เป็นโครงการนำร่องราชบุรี "บ้านฉัน ฉันเล่าเอง" จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนในชุมชนเจ็ดเสมียน ด้วยการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน และวิถีชีวิตของชุมชนเจ็ดเสมียนริมแม่น้ำแม่กลอง ผ่านการบอกเล่า และนำเที่ยวโดยชาวบ้าน ด้วยรถซาเล้ง และรถจักรยานตามเส้นทางต่างๆ ของชุมชน อาทิ บ้านปั้นเซรามิค บ้านทอผ้าขาวม้า บ้านตีมีด วัดเจ็ดเสมียน สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน  ตลาดเก่า 119 ปีเจ็ดเสมียน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สวนศิลป์ บ้านดิน ฯลฯ

ดูแผนที่การจัดงาน


สอบถามข้อมูลกิจกรรม และที่พัก ได้ที่
ที่มาข้อมูล
สำนักงาน คณะทำงานเทศกาลศิลปะและการแสดงเจ็ดเสมียน. (2553). เอกสารและแผ่นพับประชาสัมพันธ์งาน "เทศกาลศิลปะและการแสดงเจ็ดเสมียน ".เอกสารประกอบการแถลงข่าว เมื่อ 13 พ.ย.2553. 
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์บ้านเรา

พิพิธภัณฑ์บ้านเรา
สถานที่ตั้ง
สุขโชครีสอร์ท อ.ดำเนินสะดวก ต.ท่านัด จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์บ้านเรา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในสุขโชค รีสอร์ท จัดตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ.2530-2531 จัดแสดงของที่คุณเฉลียว  สุขโชค สะสมไว้ โดยรวบรวมของเก่าที่ชาวบ้านไม่ใช้แล้ว เช่น นาฬิกาแบบต่างๆ รถจักรยาน รถสามล้อ เกวียน ตะเกียง เป็นต้น เพื่อให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมและศึกษา

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้เข้าชมทุกวัน

ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม

การติดต่อ
โทร.0-3225-4301,0-3225-4982

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 71-72)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์

พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์
สถานที่ตั้ง
วัดประสาทสิทธิ์  ต.ประสาทสิทธิ์  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์บ่อน้ำพระพุทธมนต์ เป็นสถานที่จัดเก็บวัตถุโบราณหลายชนิดของวัดประสาทสิทธิ์  ได้แก่ พระพุทธรูป เงินตรา เครื่องถ้วยชาม เครื่องทองเหลือง เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแบบต่างๆ จัดแสดงแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ไว้ในตู้จัดแสดง และมีบ่อน้ำพระพุทธมนต์อยู่ตรงกลางห้อง

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้เข้าชมทุกวันพระและวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08:00-18:00 น.

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา :
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 69-70)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม

พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม
สถานที่ตั้ง
วัดโชติทายการาม เลขที่ 3 หมู่ 1 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุในสมับหลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเชย ท่านได้ดูแลรักษาไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2507 โดยเริ่มจากเมื่อ พ.ศ.2530 หลวงพ่อกิมไซร ได้ปรารภกับศิษยานุศิษย์ และกรรมการวัดเกี่ยวกับเรื่องการจัดสร้างสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ในสมัยหลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเชย ซึ่งท่านได้ดูแลรักษาไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.2507 กับทั้งสิ่งของญษติโยมที่นำมาถวายให้กับวัด เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและไว้เป็นเกียรติแก่วัดด้วย

ท่านได้บริจาคเงินเป็นทุนก่อสร้างอาคาร จำนวน 1,000,000 บาท ในเบื้องต้น คณะกรรมการตกลงทำตามดำริ โดยเริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ "สุนทรธรรมรัตน์" ในปี พ.ศ.2542 และก่อนอาคารเสร็จสมบูรณ์ หลวงพ่อถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 คณะกรรมการจึงเร่งให้ช่างดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันงานพระราชทานเพลิง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2543 สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 5,000,000 บาทเศษ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ  อาคารพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของวัดโชติฯ เป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านล่างเป็นอู่เรือของวัด

ข้อมูลบริการ
ติดต่อทางวัดล่วงหน้าก่อนเข้าชม

การติดต่อ
โทร.08-1011-8835 พระมหาประกอบ โชติปุญโญ เจ้าอาวาส

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 67-68)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาวเวียง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาวเวียง
ภาพคนในชุมชนบ้านขนุน
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/suthepkm/344521
สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านขนุน  27 หมู่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 7012

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน

ข้อมูลทั่วไป
เดิมเป็นที่พักอาศัยของครอบครัวนายใหม่ นางตา  ตุ่นบุตรเสลา โดยปลูกสร้างเป็นโรงหลังคามุงจาก ได้รับการปรับปรุงเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 จนกระทั่งปรับปรุงครั้งสุดท้ายปี พ.ศ.2544 เมื่อนายใหม่และนางตาเสียชีวิต นายเสถียร ตุ่นบุตรเสลา บุตรคนสุดท้องและครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแลบิดา มารดา ได้ไปปลูกสร้างบ้านหลังใหม่ หลังเก่าคงสภาพเดิมไว้ นายเสถียรและภรรยา มีแนวความคิดที่จะสะสมรวบรวม เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำรงชีพซึ่งแสดงวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ถึงเรื่องราววิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร สะสมเรื่อยมาโดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวบ้าง และมีผู้บริจาคบ้าง ต่อมาสภาวัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้เล็งเห็นความมุ่งมั่นของนายเสถียร และด้วยภารกิจของสภาฯ คือ การฟื้นฟู ส่งเสริม อนุรักษ์ พัฒนาและสงวนรักษาฯ เอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งชุมชนบ้านขนุนมีประวัติเป็นชุมชนลาวเวียงเดิม ประกอบกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี  ได้มีโครงการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ตามโครงการจัดการภูมทัศน์วัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งจัดเป็นพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง

วัฒนธรรมชุมชนบ้านขนุนได้ศึกษารายละเอียด หลักเกณฑ์ของการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนแล้วเห็นพ้องต้องกัน จึงจัดทำโครงการนำเสนอสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อพิจารณา 3 โครงการ และ 1 ในจำนวนนั้น คือการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนลาวเวียง ด้วยเหตุที่ชุมชนบ้านขนุนเป็นชุมชนขนาดกลางและยังไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก รวมทั้งเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน ชุมชนจึงได้รับการตัดสินเป็นพื้นที่นำร่อง

นอกจากนี้นายเสถียร นางศรีนวล ตุ่นบุตรเสลา  ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่และอาคารบ้านเรือนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เห็นคุณค่า และสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ชุมชนบ้านขนุนอย่างยั่งยืนตลอดไป

ข้อมูลการบริการ
เวลาทำการ ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 64-66)
อ่านต่อ >>

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าตีนจกราชบุรี

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าตีนจกราชบุรี
สถานที่ตั้ง
วัดแคทราย  หมู่ 13 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
ด้วยความตระหนักในคุณค่าและความต้องการในการที่จะอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าจกของชาวไท-ยวน ให้คงอยู่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไท-ยวน ในราชบุรีสืบไป สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดแคทราย นำโดย นายอุดม  สมพร ผู้ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวไท-ยวนที่อพยพโยกย้ายจากเมืองเชียงแสน  จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกขึ้นที่ วัดแคทราย หมู่ที่ 13 ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และองค์การกุศลต่างๆ ทั้งในจังหวัดราชบุรี และจังหวัดอื่นๆ เพื่อให้เป็นศูนย์วิชาการผ้าจก สำหรับการศึกษาค้นคว้าแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป  โดยได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ ฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2534 อันเป็นคราวเดียวกันกับที่เสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรีนั้น ภายในศูนย์ได้จำแนกพื้นที่ใช้สอยเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยส่วนแรกเป็นส่วนจัดแสดง และเก็บรักษาผ้าจกที่จัดแสดงและเก็บรักษาอยู่ภายในตู้จัดแสดง ตามหลักวิชาการจัดแสดงผ้าของพิพืธภัณฑสถาน ซึ่งมีตัวอย่างผ้า ทั้งผ้าจกโบราณและผ้าจกที่ทอขึ้นใหม่ ตามแบบโบราณ จัดแสดงให้ผู้ที่สนใจศึกษากว่าร้อยผืน  ในขณะที่ส่วนที่สอง เป็นส่วนสาธิตและฝึกหีดการทอผ้าจก อันจะมีสตรีไท-ยวนคอยสาธิตการทอผ้าให้ชมและศึกษาตลอดเวลาที่ศูนย์เปิดให้บริการ  และในส่วนนี้ยังมีกี่ทอผ้าจก ที่พุ่งกระสวยด้วยมือใหญ่ที่สุดในโลก จัดแสดงไว้ให้ชมอีกด้วย

ข้อมูลบริการ
เวลาเปิดทำการ เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาและสนับสนุนศิลปผ้าจกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00-17:00 น.

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 50-51)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ไท-ยวน

พิพิธภัณฑ์ไท-ยวน
สถานที่ตั้ง
วัดนาหนอง หมู่ 2 ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
เริ่มต้นจากพื้นที่ในเขตหมู่ที่หนึ่ง ต.ดอนแร่ เป็นเขตที่มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวัดจึงได้ร่วมมือกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้น  โดยส่วนของอาคารได้สร้างขึ้นมาในปี พ.ศ.2541  พร้อมกันนั้นจึงได้เกิด ศูนย์บูรณาการสายใยวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มทอผ้าฝน ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านนั้น ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 แล้ว โดยดำเนินการในส่วนพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งวัตถุสะสมส่วนใหญ่มาจากของสะสมของวัด  มีการจัดแสดงโดยนำโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่นของชาวไท-ยวน มาจัดแสดง โดยใช้พื้นที่ชั้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงในตู้โชว์ วัตถุจัดแสดงประกอบด้วยเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จาน ชาม เครื่องปั้นดินเผา คัมภีร์ เอกสารโบราณ ภาชนะ เครื่องแก้ว อาวุธ สำริด รวมทั้งงานหัตถกรรมอื่นๆ เช่น การปักผ้าอย่างชาวยวน การทำหมอนขวาน  ซึ่งพระครูสิริคณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาหนอง เป็นผู้ควบคุมดูแลและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลดอนแร่  ด้านการให้บริการต่อผู้เข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์ นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นศูนย์ค้นคว้าข้อมูล และเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้านอีกด้วย

ข้อมูลบริการ
เวลาเปิดทำการ ต้องโทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันทำการ

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมค่าเข้าชม

การติดต่อ
โทรศัพท์ 0-3220-7256 ท่านเจ้าอาวาสวัดนาหนอง 08-1705-0331
โทรสาร.0-3220-7222

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา :
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน  เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 48-49)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่สำยักสงฆ์บ้านบ่อหวี หมู่ 4 บ้านบ่อหวี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70140

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วัด

ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบ่อหวี เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ วัตถุโบราณต่างๆ ที่พบในเขตอำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่ ณ ศาลาอเนกประสงค์ภายในสำนักสงฆ์บ่อหวี โดยมี พระสุชิน  ฐิตะมฺโม เป็นผู้ดูแลและคิดริเริ่มจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจ 

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดให้บริการทุกวัน (ติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม)

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

อ่านเพิ่มเติม 23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี

ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 30-31)
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์
สถานที่ตั้ง
215/3  ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70000

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน


ข้อมูลทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่เรือนไม้สัก 2 ชั้น ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม (Colonial Architecture) ซึ่งสร้างอยู่ราวปลายรัชกาลที่ 5 - ต้นรัชกาลที่ 6 ในอดีตเป็นสถานที่ทำงานของเทพการอุตสาหกรรม มีกเรียกันติดปากว่า "ออฟฟิตสังคหะวังตาล" โดยใช้เป็นสำนักงานใหญ่เป็นที่ติดต่องานและรวบรวมข้อมูลธุรกิจต่างๆ ในกิจการของคุณหลวง (เสวกโทหลวงสิทธิ์ เทพการ) เป็นสถานที่เก็บเอกสารระบบงานธุรกิจการค้าของหลวงสิทธิ์เทพการ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร โรงน้ำแข็ง โรงเลื่อย ฯลฯ และได้ใช้เป็นสำนักงานสังคหะวังตาลตลอดเรื่อยมา จวบจนกระทั่งกิจการต่างๆ ได้ปิดตัวลงไปตามกาลเวลา

ปัจจุบัน ทายาทของหลวงสิทธิ์เทพการได้ซ่อมแซมปรับปรุงเรือนไม้สักแห่งนี้ ให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้จัดแสดงเอกสารข้อมูลธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่เดิมภายในสำนักงานรวมทั้งข้างของเครื่องใช้ในอดีต บ้านหลังนี้เรียกชื่อว่า "บ้านคุณหลวง" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่หลวงสิทธิ์เทพการ

ข้อมูลบริการ
เวลาทำงาน เปิดให้บริการทุกวัน

ค่าธรรมเนนียมการเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมการเข้าชม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
คุณวรวิทย์  วังตาล โทร.0-3221-1018

อ่านเพิ่มติม
ที่มา
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 30-31)
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบางแพ

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ด้านหลังห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี อ.บางแพ จ.ราชบุรี

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ 

ข้อมูลทั่วไป
พระครูโสภณ  เจ้าคณะอำเภอบางแพ เป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปได้ทราบถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในอำเภอบางแพ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรม นำมาซึ่งเอกลักษณ์ของชาวอำเภอบางแพ แต่อดีตจนถึงปัจจุบันอันทรงคุณค่า เป็นการอนุรักษ์ไว้เพื่อจะได้สืบสานให้คงอยู่ต่อไป

ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางแพ ได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัดราชบุรี จึงได้ปรับปรุงอาคารเรือนไทยที่อยู่ด้านหลังห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบางแพ และได้นำสิ่งของต่างๆ ที่ทางวัดบางแพได้เก็บรวบรวมไว้แต่เดิม เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน นำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่ไปกับห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีอีกแห่งหนึ่ง

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00-17:00 น.
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม ไม่เสียค่าธรรมเนียม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอบางแพ
โทรศัพท์ 0-3238-1159

ที่มาข้อมูล
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 18-21)
ที่มาภาพ
-http://www.bangphae.go.th/location-detail.php?id=1

อ่านเพิ่มเติม
23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม

สถานที่ตั้ง
41/1 หมู่ 3 ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70610

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เอกชน

ข้อมูลทั่วไป
ตั้งอยู่ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี โดยเกิดขึ้นจากความตั้งใจและความคิดของท่านผู้ก่อตั้งซึ่งมีรากฐานมาจากงานหล่อพระพุทธรูป และประติมากรรมรูปต่างๆ เป็นระยะเวลากว่า 40 ปี จากประสบการณ์ทำให้ผู้ก่อตั้งมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนของพระสงฆ์รูปต่างๆ ซึ่งจำพรรษาในกุฎิ และรูปเหมือนบุคคลสำคัญต่างๆ ที่ท่านผู้ก่อตั้งมีความศรัทธายกย่อง ในด้านแนวความคิด ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ รวมทั้งรูปเหมือนวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นไทยในภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงได้เริ่มก่อตั้งโครงการอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามขึ้นมาในปีพุทธศักราช 2540  และด้วยความมุ่งมั่น ความศรัทธาในคำสอนเรื่องทำความดี กำลังใจจากครูอาจารย์ เพื่อนมิตรและครอบครัว ทำให้โครงการหุ่นขี้ผึ้งได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะนำเสนองานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทย นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อสืบทอดเอกลักษณ์อันดีงาม ของไทยให้คงอยู่สืบต่อชนรุ่นหลัง

ด้านหน้าอุทยานมีองค์พระพิฆเนศหล่อสำริดลงดำ เทพแห่งความรู้ ใกล้ๆ กันมีโมเดลจำลองให้เห็นถึงจุดแสดงแต่ละจุดอย่างคร่าวๆ ก่อนจะไปสัมผัสของจริงภายในพื้นที่ทั้งหมด 42 ไร่ ภายในอุทยานแบ่งพื้นที่จัดแสดงเป็น 6 จุด คือ อาคารเชิดชูเกียรติ ลานพระสามสมัย ถ้ำชาดก กุฏิพระสงฆ์ บ้านไทย 4 ภาค และลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

1.อาคารเชิดชูเกียรติ นำเสนอเรื่องราวของ 10 บุคคลสำคัญ เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างของอาคารจัดแสดงเรื่องราวรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศไทยและระดับโลก อาทิ ม.ล.ปิ่น มาลากุล พณฯศาสตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ แม่ชีเทเรซ่า ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ เหมา เจ๋อ ตุง และเติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นต้น

2.ลานพระสามสมัย จัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา และสมัยเชียงแสนหรือสมัยล้านนา

3.ถ้ำชาดก ภายในถ้ำเป็นการแสดงหุ่นที่เล่าเรื่องราวของพระเวสสันดร

4.กุฎิพระสงฆ์ แบ่งออกเป็นกุฎิพระสงฆ์ภาคต่างๆ และภายในกุฏิประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง พระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีในภาคนั้นๆ ได้แก่ กุฎิพระสงฆ์ภาคกลาง เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระอรยวงศาคตญาณ (อยู่ญาโณทัย) กุฎิพระสงฆ์ภาคเหยือ เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่  กุฎิพระสงฆ์ภาคอีสานเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย กุฎิพระสงฆ์ภาคใต้เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้) และพระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม  ธัมมธโร)

นอกจากนี้ยังมีหอสวดมนต์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงทั้ง 5 ภาคในประเทศไทย จัดแสดงคล้ายกับว่ามาทำการประชุมสงฆ์พร้อมกัน ซึ่งประกอบด้วย
  1. หลวงพ่อเงิน  พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร
  2. หลวงพ่อทองคำ วัดบึงบา จ.ปทุมธานี
  3. หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดสิลสุภาราม จ.ภูเก็ต
  4. หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดระหารไร่  จ.ระยอง
  5. หลวงปู่คำพัน โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
5.บ้านไทยสี่ภาค เป็นการจำลองบ้านไทยตามลักษณะสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ภายในบ้านแต่ละหลังจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยแต่ละภาค ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

6.ลานพระอวโลกิเตศวร โดยองค์ที่จำลองขึ้นมานี้ เป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือกวนซิอิมผ่อสัก เป็นศิลปะแบบกลาง ปลายสมัยราชวงศ์ซ้องของจีน องค์นี้เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านั่งมหาราชลีลาลักษณะเป็นบุรุษเพศ ตามประวัติเดิม

ข้อมูลการบริการ
เวลาทำการ เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00-17:00 น.
ค่าธรรมเนียการเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท พระสงฆ์ 20 บาท
โทรศัพท์ 0-3238-1401,0-3238-1402,0-3238-1403
เว็บไซต์ http://www.scppark.com/

ที่มาข้อมูล
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 18-21)

อ่านเพิ่มเติม
23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

สำนักศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

สำนักศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

สถานที่ตั้ง
ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เลขที่ 46 หมู่ 3 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150


ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา

ข้อมูลทั่วไป
สำนักศิลปวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักอีกหน่วยงายหนึ่ง ตามโครงสร้าวการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรม โดยมีเนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตท้องถิ่น ภูมิปัญญา สำนักศิลปะและวัฒนธรรมแต่เดิมมีชื่อว่า "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม" โดยมีจุดเริ่มจากการประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ในปี พ.ศ.2511 ซึ่งได้กำหนดให้วิทยาลัยครูมีบทบาทภาระหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ทางวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และในปี พ.ศ.2542 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จึงเปลี่ยนจาก "ศูนย์" เป็น "สำนัก" คือ สำนักศิลปวัฒนธรรมและเรียกตำแหน่งผู้บริหารในระดับสำนักว่า "ผู้อำนวยการสำนัก" ซึ่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา และยังคงทำหน้าที่เป็น "ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี" ตามระเบียบว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม พ.ศ.2531 โดย เป็นประธานศูนย์วัฒนธรรม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี

ข้อมูลบริการ
เวลาทำการ เปิดบริการวันพุธ-ศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น.

ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การติดต่อ
โทร.0-3226-1790  ต่อ 1600

ที่มาข้อมูล
พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 16-17)
อ่านเพิ่มเติม
23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
เว็บไซต์ : http://culture.mcru.ac.th/ 
อ่านต่อ >>

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโรงเรียนบ้านจอมบึง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโรงเรียนบ้านจอมบึง

สถานที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา) หมู่.3 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150

ประเภทพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา

ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยอาจารย์ประสาท  อรรถกรศิริโพธิ์  อดีตครูใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เก็บสะสมไว้ที่โรงเรียน ต่อมาในปี พ.ศ.2535-2536 ห้องเรียนไม่พอ จึงนำของทั้งหมดย้ายไปจัดแสดงที่วัดจอมบึง และในปี พ.ศ.2552 ย้ายกลับมาที่โรงเรียนและตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน นิทรรศการถาวร มีการดึงตัวแทนชาวบ้านเข้ามาเป็นกรรมการ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจริงๆ เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยมีอาจารย์สุรินทร์  เหลือลมัย เป็นที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเก็บรักษาวัตถุโบราณ และจัดแสดงสิ่งของต่างๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และสมัยรัตนโกสินทร์

ข้อมูลบริการ
เวาทำการ เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น.

ค่าธรรมเนียมเข้าชม ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การติดต่อ
โทรศัพท์ 08-7508-8773, 0-3221-1151, 0-3236-2036 อ.สุวิมล


ที่มาข้อมูล พูลศรี จีบแก้ว และปราจิน เครือจันทร์. (2553). ท่องโลกพิพิธภัณฑ์ไทยในราชบุรี. กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (หน้า 14-15)
อ่านเพิ่มเติม
23 พิพิธภัณฑ์ในราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรี

ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตั้งอยู่ถนนวรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 โดยกรมศิลปากรได้ขออนุมัติใช้อาคารศาลกลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2465 ในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติประจำเมืองของกรมศิลปากร

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์การศึกษา อนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่จะสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมัยใหม่ โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่เน้นเรื่องราวของท้องถิ่น ทั้งทางด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้าน ชาติพันธุ์วิทยา และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี

การจัดแสดง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ประกอบไปด้วยอาคารสำคัญ 2 หลัง เป็นอาคารจัดแสดงและอาคารส่วนบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร ได้แก่
อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2465 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก ที่ได้รับความนิยมนำมาสร้างกันอย่างแพร่หลายในช่วงรัชกาลที่ 5-6 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2520 การจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารจะเน้นเรื่องราวของท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 เรื่องด้วยกัน ได้แก่

1.สภาพทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดงแหล่งกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติประเภท ดิน หิน แร่ธาตุและรูปจำลอง ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง (กาญจนบุรีและเพชรบุรี) โดยมีตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ ดิน หินแร่ อัญมณี และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดราชบุรีจัดแสดงประกอบ

2.ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่พบในจังหวัดราชบุรี เรียงตามลำดับยุคสมัย ดังต่อไปนี้

2.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีของมนุษย์ในยุคที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณจังหวัดราชบุรี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งเครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ กระดูกสัตว์ต่างๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา กลองมโหระทึก และโครงกระดูกมนุษย์เป็นต้น

2.2 ราชบุรีในวัฒนธรรมทวารวดี จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานต่างๆ ของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-15 โดยเฉพาะเรื่องราวของเมืองโบราณคูบัว และเทือกเขางู

2.3 ราชบุรีในวัฒนธรรมเขมร จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร หรือ "ลพบุรี" ที่ปรากฏในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีโบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องจัดแสดงนี้ได้แก่ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี" พบที่จอมปราสาทเมืองโบราณโกสินารายณ์ เป็น 1 ใน 5 องค์ที่พบในดินแดนประเทศไทย

2.4 ราชบุรีในสมัยสุโขทัย-ธนบุรี จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-28 จากหลักฐานชื่อเมืองราชบุรีที่ปรากฏในศิลจารึกสมันสุโขทัย ราชบุรีเป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่าน และเส้นทางการเดินทัพสมัยอยุธยา โดยจัดแสดงหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เครื่องถ้วยจีน และเครื่องปั้นดินเผา

2.5 ราชบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วง พ.ศ.2325-2475 แสดงถึงความสำคัญของเมืองราชบุรี ในด้านการเมืองการปกครอง การพัฒนาท้องถิ่น ต่อเนื่องจากสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.7)

3.เผ่าชนชาติพันธุ์วิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดราชบุรี ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ เป็นลักษณะเด่นของจังหวัด กลุ่มชนเหล่านี้มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณีที่แต่ละชาติพันธุ์ยังคงยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม ชาติพันธุ์เหล่านี้ได้แก่ ชาวไทยพื้นถิ่นภาคกลาง ชาวไทยจีน ชาวไทย-ยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวเวียง และชาวไทยเขมรลาวเดิม

4.มรดกดีเด่น แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

4.1 มรดกดีเด่นทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ปูชนียวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประเพณีวัฒนธรรม เทศกาลประเพณี อาหารพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น

4.2 มรดกดีเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ เช่น อุทยานหินเขางู โป่งยุบ แก่งส้มแมว เป็นต้น  รวมทั้งต้นไม้และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดราชบุรี

4.3 บุคคลสำคัญ ได้แก่บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดในด้านต่างๆ เช่น ปูชนียบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญทางด้านทหาร การเมืองและการปกครอง รวมทั้งบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและศิลปินเพลงพื้นบ้านต่างๆ

5.ราชบุรีในปัจจุบัน จัดแสดงสภาพทั่วไปของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การอุตสาหกรรม การเกษตร ประชากร และที่สำคัญคือ พระราชกรณียกิจแห่งองค์พระบามสมมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อจังหวัดราชบุรี อาทิเช่น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เป็นต้น

อาคารกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรี
ลักษณะเป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่นเดียวกับอาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม มีแผผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องว่าว และด้านหน้าก่อมุขยื่นออกไป สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2416 ในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อใช้เป็นจวนที่พักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5

และต่อมาได้ใช้เป็นกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรีในคราวแรกของการจัดตั้งมณฑลราชบุรี และได้ใช้เป็นสถานที่ทำการต่างๆ ของส่วนราชการอื่นๆ ต่อมาในภายหลัง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ขออนุญาตใช้อาคารแห่งนี้จากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อปรับปรุงให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

ปัจจุบันเป็นอาคารส่วนบริการโดยชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมพิเศษต่างๆ ส่วนชั้นบนใช้เป็นสำนักงานและคลังจัดเก็บศิลปะโบราณวัตถุเพื่อการศึกษาของพิพิธภัณฑ์

แผนที่ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

เวลาทำการ : 09:00-16:00 น.
เปิดบริการทุกวันพุธ-วันอาทิตย์
ปิดบริการวันจันทร์-วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ชาวไทย : 20 บาท
ชาวต่างประเทศ : 100 บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร นักบวชในศาสนาต่างๆ และแขกทางราชการที่ขอเข้าชมเป็นหมู่คณะไม่ต้องเสียค่าเข้าชม

การบริการ
การนำชมเป็นหมู่คณะ การบรรยายทางวิชาการ บริการห้องสมุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าและข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี

ร้านจำหน่ายของที่ระลึก
จำหน่ายของที่ระลึกและหนังสือทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ถนนวรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทร.0-3232-1513  โทรสาร.0-3232-7235

ที่มา :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี.(2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายเมื่อ 5 ก.ย.2553
อ่านต่อ >>

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำดำเนินฯ ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 31 แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) และ ครม. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสั่งการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานำไปประกอบการจัดทำแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศต่อไป

ทั้งนี้ สศช. ระบุว่า จากการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพตามหลักเกณฑ์แล้วพบว่ามีจำนวน 31 แหล่งจากแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศที่มีอยู่ 2,154 แหล่ง และมี 7 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเร่งบูรณาการ ร่วมกันดูแลรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพให้ยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศต่อไป


ทั้งนี้ทั้ง 7 หน่วยงานต้องเร่งพัฒนาในด้านที่เป็นความรับผิดชอบ เช่น

  • สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมศิลปากร ต้องเข้ามาดูแลงานการออกแบบและวิจัยเพื่อพัฒนา
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ต้องดูแลด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เป็นผู้ดูแลงานด้านการตลาด เป็นต้น
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพทั้ง 31 แหล่ง แยกได้เป็น 8 กลุ่มคือ
  1. กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือตอนบน มี 4 แหล่ง คือ
    -เมืองแม่ฮ่องสอน
    -เมืองปาย
    -เมืองเชียงแสน
    -น้ำพุร้อน
  2. กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มี 3 แหล่ง คือ
    -อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    -อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    -อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
  3. กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ มี 6 แหล่ง คือ
    -ปราสาทหินพิมาย
    -ปราสาทเขาพนมรุ้ง
    -ปราสาทหินเมืองต่ำ
    -ปราสาทศรีขรภูมิ
    -ปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่
    -ปราสาทเขาพระวิหาร,
  4. กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง มี 5 แหล่ง ประกอบด้วย
    -เมืองหนองคาย
    -เมืองนครพนม
    -เมืองโขงเจียม
    -เมืองเชียงคาน
    -กลุ่มภูจังหวัดเลย
  5. กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำภาคกลาง มี 3 แหล่ง ประกอบด้วย
    -ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
    -ตลาดน้ำอัมพวา
    -ตลาดเก่าสามชุก
  6. กลุ่มท่องเที่ยวแอคทีฟ บีช มี 2 แหล่ง ประกอบด้วย
    -หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง
    -เมืองพัทยาและหมู่เกาะใกล้เคียง
  7. กลุ่มท่องเที่ยวรอยัล โคสท์ มี 6 แหล่ง คือ
    -อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
    -พระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน)
    -อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
    -อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
    -อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะชุมพร
    -แหล่งน้ำพุร้อนจังหวัดระนอง
  8. กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร มี 1 แหล่ง คือ เกาะสมุยและเกาะบริวาร เช่น เกาะพะงัน หมู่เกาะอ่างทอง เกาะเต่า เป็นต้น.
ที่มา :
ข้อมูล : เดลินิวส์.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=562&contentID=63112 (สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค.2553)
ภาพ :
http://gotoknow.org/file/winai999/IMG_0037.jpg
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทัวร์สุขภาพ รพ.ดำเนินสะดวก

โครงการรักษ์สุขภาพแบบผสมผสาน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก(ทัวร์สุขภาพ)
โปรแกรมทัวร์สุขภาพ 3 วัน 2 คืน

วันศุกร์13.00-14.00 น. ลงทะเบียนเข้าที่พัก
14.00-18.00 น. ตรวจสุขภาพ อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร นวดเท้า
18.00-19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00-20.30 น. กิจกรรมคืนวันเปิดตัว
20.30-21.00 น. ปฏิบัติโยคะ ทำสมาธิก่อนนอน
วันเสาร์
05.30-06.00 น. ตรวจเลือด
06.00-07.00 น. ออกกำลังกายรับอรุณรุ่ง
07.00-08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00-14.00 น. ทัวร์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
14.00-18.00 น. นวดตัว,นวดหน้า พักผ่อนทำกิจกรรมตามอัธยาศัย (เยี่ยมชมเวชสำอาง,ทดสอบสมรรถภาพ,รับบริการทันตกรรมตามอัธยาศัย)
18.00-19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00-20.30 น. กิจกรรมคืนวันสังสรรค์
20.30-21.00 น. ปฏิบัติโยคะ ทำสมาธิก่อนนอน
วันอาทิตย์
06.00-07.00 น. ใส่บาตร
07.00-08.00 น. ออกกำลังกายรับอรุณรุ่ง
08.00-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า
09.00-10.00 น. เสวนาเรื่องสมุนไพรและอาหารตามธาตุ
10.00-10.15 น. รับประทานอาหารว่าง
10.15-12.00 น. สาธิตและฝึกนวดเพื่อสุขภาพ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.30 น. ฟังผลตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำจากแพทย์
15.30-16.00 น. มอบของที่ระลึก เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

สอบถามรายละเอียด
โครงการรักษ์สุขภาพแบบผสมผสาน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
-ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รพ.ดำเนินสะดวก โทร.0-3234-6201,0-3224-6000-15 ต่อ 201-2 ทุวันเวลาราชการ
-คุณสุนิสา เจียวมาลี โทร.0-3224-6000-15 ต่อ 411 หรือ 08-1623-2451

ที่มา :
รพ.ดำเนินสะดวก. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการรักษ์สุขภาพแบบผสมผสาน. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรี ปี 2553.
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กำหนดการเปิดงานราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010

กำหนดการเปิดงานราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010 เป็นกำหนดการที่น่าสนใจ เพราะประธานในพิธีนั่งรถไฟมาจากกรุงเทพฯ เลยนำมาลงไว้เป็นความรู้แบ่งปันกัน

วันอังคารที่ 16 ก.พ.2553
เวลา 12.30 น. หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาล ออกเดินทางจากเทศบาลเมืองราชบุรี เพื่อต้อนรับ ท่านชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานในพิธี พร้อมทั้งแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนที่สถานีรถไฟ หัวลำโพง กรุงเทพมหานคร โดยมีคณะสิงโตต้อนรับ
เวลา 15.00 น. ขบวนรถไฟนำประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ พร้อมทั้งสื่อมวลชน ออกเดินทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพง
เวลา 17.30 น.

  • ขบวนรถไฟ นำประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ พร้อมทั้งสื่อมวลชน ถึงสถานีรถไฟราชบุรี
  • นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีให้การต้อนรับ
  • เชิญประธานในพิธีขึ้นรถตู้จากสถานีรถไฟราชบุรี เดินทางไปถึงสถานที่ตั้งโครงการห้องสมุดรถไฟเฉลิมพระเกียรติเพื่อเปิดป้ายโครงการก่อสร้าง ห้องสมุดรถไฟเฉลิมพระเกียรติ
เวลา 17.39 น. ประธานในพิธีไปถึงสถานที่ก่อสร้างโครงการห้องสมุดรถไฟเฉลิมพระเกียรติเพื่อเปิดป้ายโครงการก่อสร้างห้องสมุดรถไฟเฉลิมพระเกียรติ
เวลา 18.00 น.
  • เดินทางถึงจวนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
  • ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและนายกเหล่ากาชาดราชบุรีให้การต้อนรับ
  • รับประทานอาหารเย็น(โต๊ะจีน)
เวลา 19.00 น.
  • ขบวนเองกอ รถเจ๊ก รถกอล์ฟ รับประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ พร้อมทั้งสื่อมวลชน จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มายังเวทีกลางน้ำ แม่น้ำแม่กลอง (แวะไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าจำลอง)
  • เปิดตัวพิธีกร คูรปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ (อรปรียา หุ่นศาสตร์) และคุณปิยวรรณ นันทชัยพร
  • ชมการแสดงชุดเหมยฮัว(ดอกไม้ให้คุณ)
  • ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ
  • นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี กล่าวรายงาน
  • ประธานในพิธีมอบของที่ระลึกแก่ผู้สนับสนุนการจัดงาน
  • ประธานกล่าวและประกอบพิธีเปิด โดยสัมผัสลูกแก้วมหามงคล ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่จุดพลุ ดอกไม้ไฟ เปิดงาน
  • การแสดงชุดสายสัมพันธ์ ไทย-จีน
  • คณะกรรมการจัดงาน นำประธานเที่ยวชมงาน
เวลา 22.00 น. ขบวนรถไฟนำประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เดินทางกลับกรุงเทพฯ
เวลา 24.00 น. ขบวนรถไฟถึงกรุงเทพฯ
หมายเหตุ พิธีเปิดงาน ณ เวทีกลางน้ำ แม่น้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี
***********************
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานวิวาห์ตลาดน้ำ"เหล่าตั๊กลั๊ก"

งานวิวาห์ตลาดน้ำ "เหล่าตั๊กลั๊ก" (ปากคลองลัดพลี)
ย้อนรอยตำนานรัก ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก
ความเป็นมา
ราชบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน และมีวิถีชีวิตของชาวเมืองที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติที่ได้ย้ายที่เข้ามาพำนักพักพิง โดยการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในราชบุรีจะเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวบ้านในสมัยก่อนที่นังคงสืบต่อกันมา
ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก เป็นตลาดน้ำแห่งแรกของคลองดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าขายสินค้าทางเรือมาตั้งแต่โบราณ ชาวบ้านในชุมชนใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีคลองหลายสายเชื่อมต่อกัน ต่อมามีภาคเอกชนเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยสร้างถนนผ่านทางเลียบคลองต้นเข็มและสร้างที่จอดรำสำหรับนักท่องเที่ยว ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าย้ายไปขายของที่คลองต้นเข็ม และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ จนเป็นที่รู้จักในชื่อของ "ตลาดน้ำดำเนินสะดวก" ส่วนตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก ซึ่งเป็นตลาดที่เก่าแก่ดั้งเดิม ก็ยังคงมีการค้าขายภายในชุมชนเพียงแต่ไม่เป็นที่รู้จัก
ปัจจุบันตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก ได้รับการฟื้นฟูให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวมากขึ้น มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดำเนินสะดวกในสมัยก่อน นอกจากนี้ยังมีการขายสินค้าที่น่าสนใจมากมาย เช่น ข้าวแห้ง ไอศกรีมกะทิสด ก๋วยเตี๋ยวเรือ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่รวมถึงการค้าขายสินค้าผ่านทางเรือซึ่งเป็นเอกลักษณ์ และเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านบริเวณริมคลองตลาดน้ำลัดพลี อ.ดำเนินสะดวก
จังหวัดราชบุรี สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี และ อ.ดำเนินสะดวก ตระหนักถึงความสำคัญของตลาดน้ำดำเนินสะดวกจึงได้จัดงานวิวาห์ตลาดน้ำ"เหล่าตั๊กลั๊ก" ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำภาคกลาง โดยการประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊กให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมวิวาห์ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก โดยการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความประทับใจให่แก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวดำเนินสะดวกที่มีประวัติมายาวนานให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งจุดประสงค์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี โดยการสร้างงานและกระจายรายได้ให้กับชุมชนคลองดำเนินสะดวกและบริเวณใกล้เคียง
ขบวนขันหมากไทย(ทางน้ำ)บริเวณท่าวัดราษฎร์เจริญธรรม(วัดสุน)



กำหนดการพิธีแต่งงานตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก (ปากคลองลัดพลี)
ย้อนตำนานรักคลองดำเนิน
วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553
ณ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก ปากคลองลัดพลี
06.30 น.-พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทางเรือ
07.45 น.-ประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เดินทางมาถึง
08.00 น.-เจ้าบ่าว เจ้าสาว เถ้าแก่ ประธาน แขกรับเชิญ พร้อมกัน ณ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดพลีด้านใน ร่วมลงเรือแห่ขันหมาก
08.30 น.-ขบวนขันหมากเคลื่อนออกจากตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดพลีด้านในถึงบ้านพิธี ณ ตลาดปากคลองลัดพลี(เหล่าตั๊กลั๊ก)
-จุดประทัดรับขบวนขันหมาก
-เจ้าพิธีนำเด็กถือพานธูปเทียนแพมารับขบวนขันหมาก
-เจ้าพิธีนำเด็กทำพิธีล้างเท้าเจ้าบ่าว เจ้าสาว เชิญขึ้นบ้าน ผ่านประตูเงิน ประตูทอง ประตูนาค พร้อมเครื่องขันหมาก
-เชิญเจ้าบ่าว เจ้าสาว เข้าสู่พิธีไหว้เจ้า (1) ไหว้เทวดาฟ้าดิน (2)ไหว้เจ้าปึงเถ้าแก่ (3) ไหว้ตี่จู่เอี้ย
-ประเพณีการรับประทานบัวลอยไข่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าบ่าวเจ้าสาว
-เจ้าบ่าวเจ้าสาวแจกอั่งเปา
-เถ้าแก่ฝ่ายชายแจงสินสอด ทองหมั้นแก่ เถ้าแก่ฝายหญิง
-เจ้าบ่าว เจ้าสาวรับไหว้ตามประเพณีจีน คือ การยกน้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ ญาติผู้ใหญ่ให้เงินทองแก่คู่บ่าวสาว
10.00 น. -เชิญคู่บ่าวสาวสู่ท่าน้ำริมเขื่อน เพื่อเข้าสู่พิธีรดน้ำสังข์ทางเรือ โดยคู่บ่าวสาวนั่งรับน้ำสังข์ริมตลิ่ง แขกผู้มีเกียรติและญาติมิตรลงเรือรดน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาว แขก และนักท่องเที่ยวที่มาในงานช่วยกันโปรยดอกไม้ลงลำคลอง เพื่อเป็นสิริมงคล
11.00 น.-จดทะเบียนประกาศรักหรือจดทะเบียนสมรส โดยนายอำเภอดำเนินสะดวก
12.00 น.-รับประทานอาหาร
13.00 น.-ประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวอวยพรแก่คู่บ่าวสาว
18.00 น.-งานเลี้ยงรับประทานอาหารเย็น
-ชมการแสดง แสง สีเสียง

ที่มา:
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี. (2553).แผ่นพับประชาสัมพันธ์ งานวิวาห์ตลาดน้ำ "เหล่าตั๊กลั๊ก"(ปากคลองลัดพลี) ย้อนรอยตำนานรัก.
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดูอะไรดี ในราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010

กิจกรรมต่างๆ ในงาน "ราชบุรี ไชน่าทาวน์ 2010"
ณ บริเวณถนนอัมรินทร์ อ.เมือง จ.ราชบุรี
วันอาทิตย์ที่ 14 ก.พ.2553

  • 15.00 น. ชมขบวนแห่ราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010 (ขบวนเริ่มออกจาก ร.ร.วักเขาวัง มุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงาน บริเวณ ถ.อัมรินทร์ และ ถ.วรเดช ริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา (หอนาฬิกา) เขตเทศบาลเมืองราชบุรี
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.00 น. การประกวดมิสไชน่าทาวน์ 2010,การแสดงของนักเรียน ณ เวทีกลางน้ำ
  • 19.00 น. การประกวดวงสตริงรอบคัดเลือก ณ เวทีหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
วันจันทร์ที่ 15 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.00 น. การแสดงจากมณฑลมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวทีกลางน้ำ
  • 19.00 น. การประกวดวงสตริงรอบคัดเลือก ณ เวทีหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
วันอังคารที่ 16 ก.พ.2553
  • 19.00 น. พิธีเปืด โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การแสดงจากมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวทีกลางน้ำ
  • 19.30 น. การประกวดวงสตริงรอบชิงชนะเลิศ ณ เวทีหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
วันพุธที่ 17 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การประกวดมิสเตอร์ไชน่าทาวน์ 2010,การแสดงของนักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี ณ เวทีกลางน้ำ
พฤหัสบดีที่ 18 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การประกวดตี๋น้อยไชน่าทาวน์ 2010, การแสดงของนักเรียน ณ เวทีกลางน้ำ
วันศุกร์ที่ 19 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การประกวดหมวยน้อย ไชน่าทาวน์ 2010,การแสดงของนักเรียน ณ เวทีกลางน้ำ
วันเสาร์ที่ 20 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การแข่งขันเชิดสิงโตเสาดอกเหมย บนเวทีกลางน้ำ
วันอาทิตย์ที่ 21 ก.พ.2553
  • 18.30 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การแข่งขันเชิดสิงโตเสาดอกเหมย บนเวทีกลางน้ำ
วันจันทร์ที่ 22 ก.พ.2553
  • 18.00 น. ผัดหมี่มงคล
  • 19.30 น. การแข่งขันเชิดสิงโตเสาดอกเหมย รอบชิงชนะเลิศ บนเวทีกลางน้ำ
กิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถเข้าร่วมได้ทุกวัน
  • สัมผัสบรรยากาศโรงเตี้ยมย้อนยุคสมัยราชวงศ์จิ๋นและความงดงามของกำแพงเมืองจีน
  • นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ แพลานบุญ
  • ชมการแสดงประกอบแสงสีเสียง และม่านน้ำดนตรี
  • ประติมากรรมโคมไฟอันงดงาม
  • สัมผัสวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายจีน บนถนนคนเดิน และตลาดเก่าโคยกี๊
  • หลากหลายด้วยสินค้าและอาหารพื้นบ้าน
  • วันพฤหัสบดีที่ 11 ก.พ.2553 มีการแห่กระถางธูปจากศาลเจ้า 10 ศาลไปยังศาลเจ้าจำลอง ที่ท่าเทียเรือ (กองอำนวยการตลาดเก่าโคยกี๊)
  • ดูรายละเอียด
ชมภาพยนตร์โฆษณา

ดำเนินการประชาสัมพันธ์บทความนี้ โดย : กรรมการผู้จัดการบริษัท หัวช้างเอ็นเทอร์เทนเมนต์ จำกัด (HCTV) รองประธานคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ งานราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010 ตามคำสั่ง จ.ราชบุรี ที่ 3119/2552 ลงวันที่ 28 ธ.ค.2552
อ่านต่อ >>